มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการ สาเหตุ การรักษา มาดูกัน

สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
นพ.ธรณัส กระต่ายทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรคตับ และแพทย์ผู้ชํานาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ระบุว่า ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนก็ยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดและสาเหตุของการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่ก็เช่นกัน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากการได้รับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และมีสาเหตุที่เกิดขึ้นร่วมกันมากกว่าหนึ่งปัจจัย ได้แก่

  • ปัจจัยจากพันธุกรรม (genetic) ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ลําไส้ใหญ่บางชนิด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้
  • ส่วนปัจจัยแวดล้อมภายนอก (epigenetic) ได้แก่
  1. รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป เช่น เนื้อแดง เนื้อสัตว์ติดมัน รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น
  2. รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ไม่รับประทานหรือทานผักผลไม้ที่มีกากใยน้อย
  4. มีอาการท้องผูกบ่อยๆ
  5. เป็นโรคอ้วน ไม่ออกกำลังกาย
  6. สูบบุหรี่จัด
  7. ดื่มแอลกอฮอล์
  8. อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
    ขับถ่ายผิดปกติท้องผูกสลับท้องเสีย
  9. มีเลือดออกทางทวาร
  10. อุจจาระปนเลือด หรือมีสีคลํ้า
  11. อุจจาระมีลักษณะเป็นเส้นเล็กลง
  12. อาจมีอาการปวดท้อง เช่น ถ้าพบก้อนเนื้อโตด้านซ้ายของลําไส้ใหญ่ จะมีอาการลําไส้อุดตันมีอาการปวดเหมือนลําไส้ถูกบิด ถ้าพบก้อนเนื้อโตด้านหน้า จะปวดท้องคล้ายคนเป็นไส้ติ่ง

 

ทำไมเราต้องตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่?

เหตุผลที่เราต้องตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Screening Colorectal Cancer) จะเป็นการตรวจยีน และส่องกล้องทั้งเพศชายและเพศหญิง หากไม่มีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งเลยโดยเลือกที่จะละเลยมันไปจะทําให้ตรวจพบในระยะท้ายๆ ที่มีการแสดงอาการของโรคแล้ว ดังนั้นหากเราหันมาสนใจดูแลสุขภาพกันเพิ่มขึ้นโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพแบบตรงจุดเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือหากเป็นโรค เมื่อได้รับการตรวจพบโรคแต่เนิ่นๆ จะสามารถเพิ่มโอกาสให้รักษาหายได้

นพ.ธรณัส กระต่ายทอง ให้คําแนะนําอีกว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่ ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง (colonoscopy) โดยเข้ารับการตรวจอย่างน้อยทุกๆ 5-10 ปี ตามคําแนะนําสําหรับคนปกติ แต่ถ้าพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ หรือมะเร็งบางชนิดจําเป็นต้องได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องช่วงอายุเร็วกว่าปกติ

ตรวจคัดกรองเพิ่มเติม เพิ่มความละเอียดสำหรับคนที่มีความเสี่ยง
คนที่รู้ตัวว่ามีความเสี่ยง สามารถตรวจคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อหาความเสี่ยงมะเร็งทางพันธุกรรมได้จากการตรวจยีนเพียงการเก็บเลือด 6 มิลลิลิตร และส่งห้องปฏิบัติการทางพันธุศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยี “NGS” ที่มีความถูกต้อง แม่นยํา และ ปลอดภัย ได้รับมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกา หากตรวจแล้วพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนเกิดขึ้นอันอาจจะนําไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนําเรื่องความเหมาะสมของการตรวจคัดกรองอื่นๆ เพิ่มเติม และอาจต้องตรวจด้วยการส่องกล้องเร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ถึงอายุ 50 ปี ร่วมกับลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร อีกทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกมีประสิทธิภาพสูงในแง่ของการป้องกันและรักษา ซึ่งถือเป็นมาตรฐานมากกว่าวิธีอื่นๆ

ในปัจจุบันนี้ เรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่งผลให้การตรวจพบโรคทําได้เร็วขึ้น และช่วยให้รักษาเพิ่มโอกาสรักษาให้หายได้ดียิ่งขึ้น